บทนี้ต้องขอบคุณอ้อจังค่ะที่หาชีทภาษาไทยที่ตรงกับเนื้อหาที่เรียน มาพร้อมรูปสวยๆ เริ่มกันเลยค่ะ
แล้วก็บทนี้อ่านกันเยอะๆนะคะ
-------------
ความรู้ทั่วไปของการสื่อสารผ่านดาวเทียม
1 ประวัติความเป็นมาของดาวเทียม
“ดาวเทียม” เป็นวิวัฒนาการที่มนุษย์ได้ประดิษฐ์ขึ้นมาใช้ประโยชน์ในด้าน
การทหาร และได้พัฒนามาใช้ ทางด้านการพยากรณ์อากาศ การค้นหาทรัพยากรธรณี และการ
สื่อสาร ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีการส่งดาวเทียมโคจรรอบโลกเป็นจำนวนมาก และที่จะกล่าวถึงในที่นี้
คือ “ดาวเทียมสื่อสาร” ที่ใช้ในกิจการระบบโทรทัศน์
รูป 1 ภาพวงโคจรของดาวเทียมไทยคม 1 , 2 และ 3
---
ดาวเทียมสื่อสาร
ผู้ริเริ่มให้แนวคิดการสื่อสารดาวเทียม คือ “อาเธอร์ ซี คลาร์ก” (ARTHUR C. CLARKE)
นักเขียนนวนิยาย และสารคดีวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาได้สร้างสรรค์
จินตนาการของการสื่อสาร ดาวเทียมให้เราได้รับรู้ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945 โดยเขียนบทความเรื่อง
“EXTRA TERRESTRIAL RELAYS” ใน นิตยสาร “WIRELESS WORLD” ฉบับเดือนตุลาคม ปี
ค.ศ. 1945 ซึ่งบทความนั้นได้กล่าวถึง “ การเชื่อมระบบ สัญญาณวิทยุจากมุมโลกหนึ่งไปยังอีกมุม
โลกหนึ่ง ให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยใช้สถานี ถ่ายทอดวิทยุที่ลอยอยู่ใน
อวกาศเหนือพื้นโลกขึ้นไปประมาณ 35,786 กิโลเมตร จำนวน 3 สถานี ”
รูป 2 ภาพการเชื่อมต่อ สัญญาณวิทยุตามจินตนาการของอาเธอร์ ซี คลาร์ก
ปัจจุบันดาวเทียมสื่อสารนั้น จะถูกส่งขึ้นไปในช่วงของอวกาศเข้าสู่วงโคจรโดยมีความ
ห่างจากพื้นโลกโดยประมาณ 35,786 KM. ซึ่งความสูงในระดับนี้จะเป็นผลทำให้เกิดแรงดึงดูด
ระหว่างโลก และดาวเทียม ในขณะที่โลกหมุนก็จะส่งแรงเหวี่ยง ทำให้ดาวเทียมเกิดการโคจรรอบ
โลกตามการหมุนของโลก (ยกตัวอย่างเหมือนเราเอาเชือกผูกลูกตุ้ม แล้วหมุนตัวเหวี่ยงไปโดยรอบ
ๆ) ซึ่งถ้าเราอยู่บนพื้นโลกก็จะเห็นดาวเทียมอยู่กับที่ ดาวเทียมสื่อสารที่ส่งขึ้นไป ครั้งแรกเมื่อปี
2 5 0 8 โ ด ย อ ง ค์ก า ร โ ท ร ค ม น า ค ม ร ะ ห ว่า ง ป ร ะ เ ท ศ (INTERNATIONAL
TELECOMMUNICATIONS SATELLITE ORGANIZATION) หรือเรียกย่อว่า INTELSAT
หลังจากนั้น INTELSAT ก็ได้ทำการส่งดาวเทียม ในปีต่าง ๆ ต่อไปเรื่อย ๆตาม ลำดับ
วันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1957
ข้อคิดในบทความของอาเธอร์ ซี คลาร์ก เริ่มเป็นจริงขึ้นมาเมื่อ
สหภาพโซเวียตรัสเซียได้ส่งดาวเทียม “สปุทนิก 1” (SPUTNIK 1) ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงแรกของโลก
ที่ขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จแล้วในเดือนต่อมาก็ได้ส่ง “สปุทนิก 2” ดาวเทียมดวงที่ 2 ขึ้นสู่ห้วงอวกาศ
โดยมีสุนัขชื่อ “ไลก้า” (LAIKA) ขึ้นไปด้วย
วันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1958
สหรัฐอเมริกาก็ส่งดาวเทียมชื่อ “เอ็กซ์พลอเรอ 1”
(EXPLORER 1) ขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จเป็นประเทศที่ 2 หลังจากนั้นเป็นต้นมาทั้งรัสเซีย และ
สหรัฐอเมริกาต่างก็ส่ง ดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศอีกหลายดวง แต่ดาวเทียมเหล่านั้นเป็นดาวเทียมเพื่อ
การสำรวจบรรยากาศทั้งสิ้น
วันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1958
สหรัฐอเมริกาได้ส่งดาวเทียมเพื่อการสื่อสารดวงแรก มีชื่อว่า
“สกอร์” (SCORE) ขึ้นสู่อวกาศ และได้บันทึกเสียงสัญญาณที่เป็นคำกล่าวอวยพรของท่าน
ประธานาธิบดี ไอเซนฮาร์ว เนื่องในเทศกาลคริสต์มาสจากสถานีภาคพื้นดิน แล้วถ่ายทอดสัญญาณ
จากดาวเทียมลงมาสู่ชาวโลก นับเป็นการส่งวิทยุกระจายเสียงจากดาวเทียมมายังพื้นโลกได้เป็นครั้ง
แรก
วันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1964
ประเทศสมาชิกสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ชื่อเดิม
คือ ITU) จำนวน 11 ประเทศ ร่วมกันจัดตั้งองค์การโทรคมนาคมทางดาวเทียมระหว่างประเทศ หรือ
เรียกว่า “อินเทลแซท” (INTELSAT INTERNATIONAL TELECOMMUNICATIONS
SATELLITE ORGANIZATION) ขึ้นที่กรุงวอชิงตันดี.ซี. สหรัฐอเมริกา โดยให้ประเทศสมาชิกเข้า
ถือหุ้นดำเนินการใช้ดาวเทียมเพื่อกิจการโทรคมนาคมพาณิชย์แห่งโลก INTELSAT ตั้ง
คณะกรรมการ INTERIM COMMUNITIONS SATTELITE COMMITTEE (ICSC) เป็นผู้จัดการ
ในธุรกิจต่าง ๆ ตามนโยบายของ ICSC ได้แก่การจัดสร้างดาวเทียม การปล่อยดาวเทียม การกำหนด
มาตรฐานสถานีภาคพื้นดิน การกำหนดค่าเช่าใช้ช่องสัญญาณดาวเทียม เป็นต้น
วันที่ 10 ตุลาคม 1964
ได้มีการถ่ายทอดโทรทัศน์พิธีเปิดงานกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 18 จาก
กรุงโตเกียว ผ่านดาวเทียม “SYNCOM II” ไปสหรัฐอเมริกานับได้ว่าเป็นการถ่ายทอดสัญญาณ
โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมครั้งแรกของโลก
วันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1965
COMSAT ส่งดาวเทียม “TELSAT 1” ที่รู้จักกันอย่างดีในชื่อว่า
EARLY BIRDส่งขึ้นเหนือมหาสมุทรแอตแลนติก นับได้ว่าเป็นดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร เพื่อการ
พาณิชย์ดวงแรกของโลก
ในระยะหลังมีหลายประเทศที่มีดาวเทียมเป็นของตนเอง (DOMSAT) เพื่อใช้ในการสื่อสาร
ภายในประเทศ เช่น PALAPA ของอินโดนีเซีย, SAKURA ของญี่ปุ่น, COMSTAR ของอเมริกา,
THAICOM ของประเทศไทย แต่การติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศยังใช้ดาวเทียม INTELSAT
เป็นหลักในการสื่อสารอยู่
-----
2 ระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียม
ในระบบสื่อสัญญาณผ่านดาวเทียมนั้น จะประกอบด้วยส่วนประกอบที่สำคัญคือ ตัว
ดาวเทียม กับสถานีภาคพื้นดิน โดยดาวเทียมจะทำหน้าที่ เป็นสถานีทวนสัญญาณ(Repeater) เพื่อส่ง
ต่อสัญญาณระหว่างสถานีภาคพื้นดิน 2 สถานี หรือหลาย ๆ สถานีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน
ที่ตัวดาวเทียม นั้น จะประกอบไปด้วยจานสายอากาศ (Antenna) ซึ่งจะใช้เป็นตัวติดต่อกับทางสถานี
ภาคพื้นดิน หรือดาวเทียมดวงอื่น เช่นเดียว กับสถานีภาคพื้นดินที่ จะมีจานสายอากาศไว้ใช้ติดต่อ
กับดาวเทียม
รูปที่ 3 ภาพลักษณะการติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีภาคพื้นดินโดยใช้ดาวเทียม
สิ่งที่ควรทราบสำหรับระบบการสื่อสัญญาณผ่านดาวเทียม
ทรานสปอนเดอร์(Transponder) - ทำหน้าที่กรอง และขยายสัญญาณที่รับได้จากสถานี
ภาคพื้นดินด้านหนึ่ง และทำการเปลี่ยนความถี่ที่จะส่งออก ให้เป็นความถี่ที่เหมาะสมเพื่อส่งต่อไป
ยังอีกสถานีภาคพื้นดินหนึ่ง
สถานีภาคพื้นดิน (Earth Station) - ในอดีตสถานีภาคพื้นดินส่วนใหญ่จะเป็นทั้งภาครับ
และภาคส่ง โดยมีเสาอากาศขนาดใหญ่ มักจะเกิน 30 เมตร โดยมีกำลังส่งสูงกว่า 5 กิโลวัตต์ และ
เครื่องรับที่ต้องการระบบทำความเย็น แต่ในปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ พัฒนาขึ้นสถานี
ภาคพื้นดิน สามารถที่ จะใช้เสาอากาศที่เล็กกว่า กำลังงานที่ต่ำกว่า และเครื่องรับที่ไม่ต้องการระบบ
ทำความเย็นที่ยุ่งยาก
วงโคจรดาวเทียม (Satellite Orbits) - วงโคจรของดาวเทียมนั้นสามารถแบ่งได้ 2 แบบคือ
แบ่งตามลักษณะของการโคจร และแบ่งตามความสูงของการโคจร
แบ่งตามลักษณะของการโคจร- วงโคจรระนาบขั้วโลก(Polar Orbit) จะมีลักษณะของวงโคจรเป็นวงกลมอยู่ใน
แนวของขั้วโลก ไม่ได้ถูกนำมาใช้ในงานด้านโทรคมนาคม แต่จะใช้ในงานด้าน
อุตุนิยมวิทยา และการสำรวจทรัพยากรธรณี
รูปที่ 4 แสดงการโคจรของดาวเทียมแบบระนาบขั้วโลก
- วงโคจรระนาบเอียง(Inclined Orbit) จะมีวงโคจรอยู่เป็นจำนวนมากแตกต่างกัน
ไปตามความเอียง และความรีของวงโคจร จะถูกนำมาใช้สำหรับให้บริการบริเวณละติจูด
สูง หรือต่ำมาก ๆ ที่ซึ่งวงโคจรระนาบศูนย์สูตรไม่สามารถให้บริการครอบคลุมไปถึงได้
รูป 5 แสดงลักษณะการโคจรของดาวเทียมแบบวงโคจรระนาบเอียง
- วงโคจรระนาบเส้นศูนย์สูตร(Equatorial Orbit) จะคล้ายกับทั้ง 2 ลักษณะที่
กล่าวมาแล้วแต่จะมีวงโคจรอยู่ในแนวของเส้นศูนย์สูตรแทน
แบ่งตามความสูงของการโคจร
- วงโคจรระดับต่ำ(Low Earth Orbit, LEO) จะมีความสูงอยู่ในช่วง 750 ถึง 1500
กม. โดยลักษณะของ วงโคจรระดับต่ำนี้จะมีข้อได้เปรียบวงโคจรระดับปานกลาง(Medium
Earth Orbit, MEO) และวงโคจรค้างฟ้า(Geostationary Orbit, GEO) คือ จะมีความ
ต้องการกำลังงาน และขนาดของเสาอากาศบนดาวเทียมที่น้อยและเล็กกว่า รวมทั้งจะมีการ
หน่วงเวลาเนื่องมากจากการเดินทางของคลื่น(Propagation Delay)ที่สั้นกว่า ตัวอย่างของ
ดาวเทียมวงโคจรระดับต่ำ คือ IRIDIUM ที่จะให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และการสื่อสาร
ข้อมูล ซึ่งโครงการ IRIDIUM นี้จะใช้วงโคจรระดับต่ำโคจรตามแนวขั้วโลก (Polar LEO
Orbit)
รูป 6 แสดงลักษณะการโคจรของดาวเทียมแบบวงโคจรระดับต่ำ
- วงโคจรระดับปานกลาง(Medium Earth Orbit, MEO) จะมีความสูงอยู่ระหว่าง
10,000ถึง20,000กม.โดยประมาณ
- วงโคจรค้างฟ้า(Geostationary Orbit, GEO) เป็นวงโคจรวงกลมในระนาบเส้น
ศูนย์สูตรของโลกมีคาบของการโคจรเท่ากับคาบการหมุนของโลกทำให้ดาวเทียมแบบนี้ดู
เสมือนลอยนิ่ง เหนือจุด ๆ หนึ่งบนเส้นศูนย์สูตรของโลก วงโคจรค้างฟ้าจะอยู่ที่ระดับ
35,786 กม. เหนือเส้นศูนย์สูตร ตัวอย่างของดาวเทียมวงโคจรค้าง ฟ้าก็คือ ดาวเทียมไทย
คมนั่นเอง
ปัจจุบันดาวเทียมมีมากมายหลายประเภท สามารถแบ่งประเภทการใช้งานได้ 11 ประเภท
ดังนี้
1. ดาวเทียมเพื่อการสื่อสารระหว่างจุดต่อจุด เช่น ดาวเทียมปาลาปา, ดาวเทียมไทยคม
2. ดาวเทียมเพื่อการสื่อสารระหว่างดาวเทียม เช่น ดาวเทียม TDRS
3. ดาวเทียมเพื่อการสื่อสารเคลื่อนที่บนบก, ในน้ำและในอากาศ เช่น ดาวเทียมอิน
มาร์แซท
4. ดาวเทียมเพื่อการสื่อสารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เช่น ดาวเทียม
ASTRA
5. ดาวเทียมเพื่อการสำรวจโลกสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ดาวเทียม LANDSAT
6. ดาวเทียมเพื่อการสำรวจอวกาศ เช่น ดาวเทียม METEOR, ดาวเทียม EXPLORER
7. ดาวเทียมเพื่อการพยากรณ์อากาศ เช่น ดาวเทียม GMS, ดาวเทียม NOVA 6-9
8. ดาวเทียมเพื่อการปฏิบัติในห้วงอวกาศ เช่น ดาวเทียม SPAS, ดาวเทียม SKYLAB
9. ดาวเทียมเพื่อกิจการวิทยุสมัครเล่น เช่น ดาวเทียม JAS-1 หรือ ดาวเทียม FUJI
10. ดาวเทียมเพื่อการกำหนดตำแหน่ง เช่น ดาวเทียม NAVSTAR
11. ดาวเทียมเพื่อการนำร่องเรือ และอากาศยาน เช่น ดาวเทียม TRANSIT, ดาวเทียม
COSMOS
ฟุตปริ้นท์ (Footprint)
ถ้าแปลตรง ๆ แปลว่า “รอยเท้า” แต่ความหมายของระบบดาวเทียม
มีความหมายว่า “ขอบเขตของบริเวณที่สัญญาณดาวเทียมครอบคลุมถึง” ฟุตปริ้นท์จะมีเส้นเป็นวง
ชั้นจากเล็กไปใหญ่วงในสุดจะมีความเข้มของสัญญาณ (EIRP: Effective Isotropic Radiated Power)
สูงที่สุด หมายความว่าถ้าใช้จานรับสัญญาณดาวเทียมจานที่ใช้ก็มีขนาดเล็ก สัญญาณจะอ่อนลง
ตามลำดับในชั้น 2-3 และ 4 ซึ่งขนาดของจานรับสัญญาณก็ต้องมีขนาดใหญ่ขึ้นตามไปด้วย
ดาวเทียมแต่ละดวงนั้นจะมีพื้นที่ครอบคลุมแตกต่างกันไป
รูป 7 แสดงฟุตปริ้นท์(footprint) ของดาวเทียม
(A) THAICOM-1A
C-Band Regional Beam
(B) THAICOM-2
C-Band Regional Beam
[C] THAICOM-1A
Ku-Band Spot Beam (Thailand)
[D] THAICOM-2
Ku-Band Spot Beam (Thailand)
----
3 หลักการทำงานของดาวเทียม
ดาวเทียมที่ใช้ในการสื่อสารจะมีอุปกรณ์การรับ-ส่งคลื่นวิทยุ ภายในตัวดาวเทียม และอาศัย
ดาวเทียม ทำหน้าที่ถ่ายทอดทวนสัญญาณ (Repeater) ไปยังสถานีภาคพื้นดินที่ทำการส่งสัญญาณ
และรับสัญญาณ การส่งสัญญาณความถี่คลื่นไมโครเวฟจากสถานีภาคพื้นดินที่ส่งสัญญาณขาขึ้น เรา
เรียกว่า “การเชื่อมโยงขาขึ้น” (Up-link) ซึ่งจานรับสัญญาณบนตัวดาวเทียมจะรับคลื่นสัญญาณ
ข้อมูลภาพ, เสียง, คอมพิวเตอร์ไว้แล้ว นำไปขยายให้มีความแรงของสัญญาณมากขึ้น แล้วจึงส่งลง
มายังสถานีภาคพื้นดินที่ต้องการ ซึ่งการส่งสัญญาณ จากดาวเทียมลงมายังสถานีภาคพื้นดินเรา
เรียกว่า “การเชื่อมโยงขาลง” (Down-link) โดยความถี่คลื่นไมโครเวฟขาขึ้นจะแตกต่างกับความถี่
ขาลงซึ่งเป็นไปตามหลักของระบบการถ่ายทอดความถี่ และหลีกเลี่ยงการรบกวนของสัญญาณ โดย
ความถี่ขาขึ้นจะสูงกว่าความถี่ขาลงจากดาวเทียมเสมอ ซึ่งการส่งจะยากกว่าการรับสัญญาณ
รูป 8 การถ่ายทอดทวนสัญญาณจากดาวเทียม
ช่องสัญญาณรับส่งบนดาวเทียม ซึ่งจะรับสัญญาณจากสถานีภาคพื้นดินแล้วขยายสัญญาณ
ให้แรงขึ้น และส่งกลับมายังสถานีรับบนพื้นโลก โดยใช้ความถี่ขาขึ้น (Up-link) และความถี่ขาลง
(Down-link) แตกต่างกัน ในหนึ่งช่องของสัญญาณภาพจะมีความกว้างของช่องคลื่น (Bandwidth)
40 MHz ต่อ 1 ทรานสปอนเดอร์ โดยทรานสปอนเดอร์ของดาวเทียมจะมี 2 แนวคือ “V (Vertical)”
และ “H (Horizontal)”
รูป 9 แสดงระบบสื่อสัญญาณผ่านดาวเทียม
---
4 ระบบการส่งสัญญาณ
การแบ่งย่านความถี่ใช้งานของดาวเทียม
ระบบการส่งสัญญาณมี 2 ย่านความถี่ ที่สำคัญ คือ
1. แบบ C-BANDจะส่งคลื่นความถี่กลับมายังโลกอยู่ในช่วงความถี่ 3.4-4.2 GHz แบบนี้จะมีฟุตปริ้นท์
กว้างสามารถส่งสัญญาณครอบคลุมพื้นที่ได้หลายประเทศ
2. แบบ KU-BAND
ส่งความถี่ 10-12 GHz สูงกว่าความถี่ C-BAND สัญญาณที่ส่งจะครอบคลุมพื้นที่ได้น้อย จึง
เหมาะสำหรับการส่งสัญญาณเฉพาะภายในประเทศ เป็นที่นิยมใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา ใน
ยุโรป และประเทศญี่ปุ่น
---
5 การรับสัญญาณโทรทัศน์ตรงจากดาวเทียม (Television Receive Only หรือ TVRO)
เมื่อประมาณ 40 ปีที่ผ่านมา เริ่มมีโทรทัศน์เข้ามาในประเทศไทย จนปัจจุบันเกือบทุกบ้าน
จะมีโทรทัศน์อยู่ประจำบ้าน การแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ในประเทศไทยใช้ความถี่วิทยุ VHF คือ
ความถี่ตั้งแต่ 30-300 MHz ตามมาตรฐาน CCIR ซึ่งแบ่งออกเป็นช่อง 2-12 (VHF)
และในปัจจุบันมีการเปิดสถานีที่ใช้ความถี่ย่าน UHF คือความถี่ 300-3,000 MHz
การส่งสัญญาณโทรทัศน์ด้วยระบบ VHF และ UHF จะส่งสัญญาณเป็นเส้นตรงในแนว
ระดับสายตา (Line of Sight) ทำให้การรับชมโทรทัศน์ได้ไม่ชัดเจนเมื่ออยู่ห่างไกลจากสถานีส่ง เช่น
ในต่างจังหวัดที่ถูกภูมิประเทศที่เป็นภูเขาและส่วนโค้งของโลกบดบัง แม้ในกรุงเทพฯ เองปัจจุบัน
บางพื้นที่ก็รับสัญญาณบางช่องได้ไม่ชัดเจน เนื่องจากถูกตึกสูงบังสัญญาณจากสถานีส่ง ดังนั้นใน
ปัจจุบันสถานีโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ จึงได้นำการแพร่ภาพผ่านดาวเทียมมาใช้ โดยสร้างสถานี
เครือข่ายขึ้นตามจังหวัดใหญ่ ๆ เพื่อพยายามออกอากาศให้ได้ทั่วประเทศ
จากการที่ได้มีการนำเอาดาวเทียมมาใช้ในการแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ จึงได้มีการ
พัฒนาสถานีรับสัญญาณดังกล่าว ซึ่งเทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถทำให้สถานีรับสัญญาณจาก
ดาวเทียมดังกล่าวราคาถูกลง พร้อมทั้งมีขนาดเล็กลงสามารถผลิตเป็นสินค้าอุปโภคที่ใช้ตาม
บ้านเรือนทั่วไปได้
ส่วนประกอบของจานรับสัญญาณโทรทัศน์ตรงจากดาวเทียม (TVRO) มีดังนี้
1. จานสายอากาศ (Dish Antenna) มีลักษณะโค้งคล้ายกระทะเป็นรูปพาราโบลิคมีหลาย
ขนาด เช่น 6 ฟุต 8 ฟุต หรือ 10.5 ฟุต มีลักษณะทึบหรือเป็นแผ่นตะแกรงโลหะและสามารถแบ่งได้
อีก 2 แบบ
1.1 แบบ Fixed Mount จะติดตั้งรับสัญญาณดาวเทียมดวงใดดวงหนึ่งโดยเฉพาะทำ
ให้รับชมรายการโทรทัศน์ได้เฉพาะรายการที่ส่งผ่านดาวเทียมดวงนั้น ๆ
1.2 แบบ Polar Mount สามารถรับสัญญาณดาวเทียมได้หลายดวงเพราะมีอุปกรณ์
ขับเคลื่อนจานที่เรียกว่า Actuator สามารถโปรแกรมจานให้หมุนหาดาวเทียมได้ตาม
ต้องการ ดังนั้นราคาของแบบ Polar Mount จึงสูงกว่าแบบ Fixed Mount
2. กรวยรับสัญญาณ (Feedhorn) ทำหน้าที่รวมสัญญาณดาวเทียมที่สะท้อนจากด้านหน้า
ของจานสายอากาศ กรวยรับสัญญาณจะเลือกสัญญาณที่มี Polarization ที่ต้องการ
3. เครื่องขยายสัญญาณที่มีการรบกวนต่ำ (Low Noise Block Down Converter หรือ LNB)
จะรับสัญญาณจาก Feedhorn มาขยายสัญญาณให้แรงขึ้น แล้วส่งสัญญาณไปเปลี่ยนความถี่ให้ต่ำลง
(Down Converter) เพื่อส่งเข้าเครื่องรับสัญญาณ (TVRO Receiver) ต่อไป
4. เครื่องรับสัญญาณจากดาวเทียม (TVRO Receiver) ภายในจะมีอุปกรณ์เปลี่ยนความถี่ให้
ต่ำลงคือ เปลี่ยนความถี่ที่ใช้ในระบบดาวเทียม คือ 3,700-4,200 MHz ให้ต่ำลงเหลือประมาณ 70
MHz หรือ 950-1,450 MHz แล้วแต่ระบบที่ใช้ สัญญาณนี้จะถูกขยายและแยกเป็นสัญญาณภาพและ
เสียงส่งเข้าเครื่องส่งโทนทัศน์กำลังต่ำ (RF Modulator) เพื่อเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณโทรทัศน์ช่องต่าง
ๆ ตามต้องการ เช่น ช่อง 2, 3, ... , 12 ในย่าน VHF หรือช่อง 21-65 ในย่าน UHF ช่องใดช่องหนึ่ง
ปัจจุบันทางราชการอนุญาตให้ประชาชนทั่วไปสามารถติดตั้งจานรับสัญญาณโทรทัศน์ตรง
จากดาวเทียมที่เรียกว่า TVRO เป็นของตนเองได้ โดยเปรียบเทียบจานรับสัญญาณโทรทัศน์ตรงจาก
ดาวเทียมเหมือนเสาอากาศอย่างหนึ่งที่รับสัญญาณโดยตรงจากดาวเทียม
จานรับสัญญาณดาวเทียมที่ใช้อยู่ในประเทศไทยปัจจุบันนี้ สามารถรับสัญญาณจาก
สถานีโทรทัศน์ของต่างประเทศ โดยในบริเวณประเทศไทยสามารถรับสัญญาณดาวเทียมได้หลาย
ดวง เช่น จากดาวเทียม ASIASAT I จะสามารถชมรายการสตาร์ทีวี ออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง มี
รายการให้เลือกรับชม 5 ช่อง ได้แก่ รายการบันเทิง กีฬา รายการเพลง รายการข่าวจาก BBC และมิว
สิควีดีโอ หรือจากดาวเทียม PALAPA ก็สามารถรับชมรายการข่าวจาก CNN รายการโทรทัศน์ช่อง
5 และช่อง 7 ของประเทศไทย หรือรายการของประเทศมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เป็นต้น
ข้อได้เปรียบของการใช้ดาวเทียม เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีการสื่อสัญญาณแบบอื่น ๆ คือ
1. สามารถส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์ปลายทาง (End-Terminal) ที่มีการเคลื่อนย้าย (Mobile
Terminal) ได้อย่างสะดวก
2. สามารถส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์ปลายทางที่ยังไม่ทราบตำแหน่งล่วงหน้าได้
3. สามารถส่งผ่านพื้นที่ ๆ ยากต่อการติดตั้งระบบสื่อสัญญาณทางสายได้แต่
ข้อเสียของระบบสื่อสัญญาณผ่านดาวเทียม ก็คือ
1. ราคาของอุปกรณ์ หรือค่าเช่าอุปกรณ์, วงจรที่แพงกว่าสื่อสัญญาณอื่น ๆ
2. เกิดการหน่วงทางเวลา (Delay) ของสัญญาณ เนื่องจากระยะทางที่สัญญาณเดินทางมี
ระยะไกล
-------------------------------------------------------------------
~The End~
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment